วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตอนที่ ๑ รื่นรมชมดาว(๔)

ฉันไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้
เพราะมันคงยากลำบากเกินไปสำหรับตัวฉัน...
ฉันไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงความคิดความเชื่อของใครๆ
เพราะฉันเข้าใจว่าคนแต่ละคนมีที่มาที่แตกต่าง...
ฉันจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ให้ยอมรับในความแตกต่างนั้นและคอยเฝ้ามองโลกที่เปลี่ยนแปลงไป...


     คงได้ทราบกลุ่มดาวบนท้องฟ้ามาบ้างแล้วจากหัวข้อที่ผ่านมา ต่อไปก็จะเป็นการทำความรู้จักกับกลุ่มดาวอื่นๆต่อไป

๓. ดาวหมีใหญ่

     ประกอบด้วยดาวสว่าง 7 ดวง ปรากฏขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนหัวค่ำในฤดูร้อนคนไทยจินตนาการเป็นจระเข้ บางชาติมองเป็นกระบวยตักน้ำ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลกำหนดให้มีชื่อว่า กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) โดยผนวกดาวฤกษ์ริบหรี่ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน
Ursa Major
รูปที่ ๑ กลุ่มดาวจระเข้หรือหมีใหญ่(Ursa Major)

๓.๑ การหากลุ่มดาวเด่นในกลุ่มดาวอื่นจากกลุ่มดาวหมีใหญ่

      ปรากฏเห็นชัดเจนบนท้องฟ้าในช่วงฤดูร้อนมีดาวสว่างหลัก 7 ดวง คนไทยเรียกดาวจระเข้ ภาคเหนือและอีสานเรียกดาวช้าง

         ก.การหาดาวอาร์กทูรุส (Arcturus) และดาวสไปกา (Spica)

             ลากเส้นสมมติจากดาวหมายเลขหนึ่ง (ดาวสว่างตรงหางหมีหรือหางจระเข้, Alkaid) ลากโค้งไปทางใต้จะพบกับดาวสีส้ม สว่างลำดับที่ 4 บนท้องฟ้า หมายเลขสอง ชื่อดาวอาร์กทูรุส(Arcturus)เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (อาร์กทูรุสแปลว่าคนเลี้ยงหมี) คนไทยเรียกดาวยอดมหาจุลามนีหรือดาวดวงแก้ว จากดาวอาร์กทูรุสลากโค้งไปทางใต้ด้วยระยะพอๆกันจะพบกับดาวหมายเลขสาม เป็นดาวสีน้ำเงินชื่อดาวสไปกา(Spica) คนไทยเรียกดาวรวงข้าว เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจรรย์(Virgo)

ดาวรวงข้าวและดาวยอดมหาจุลามนี
รูปที่ ๒ การหาดาวอาร์กทูรุส (Arcturus) และดาวสไปกา (Spica
ในกลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจรรย์(Virgo)                   

            ข. การหาดาวเรกิวลุส (Regulus

                                ลากเส้นสมมติจากดาวหมายเลขหนึ่ง(Megrez) ผ่านดาวหมายเลขสอง(Phad) ดาวสว่างตรงขาคู่หลังของจระเข้ เส้นตรงนี้จะชี้ไปยังดาวหมายเลขสาม(Regulus)หรือดาวหัวใจสิงห์ ดาวสีน้ำเงินอ่อน สว่างที่สุดในกลุ่มดาวสิงโต

Regulus, Leo
รูปที่ ๓
การหาดาวเรกิวลุส (Regulus) ในกลุ่มดาวสิงห์โต(Leo)
 
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น