วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตอนที่ ๑ รื่นรมชมดาว(๔)

ฉันไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้
เพราะมันคงยากลำบากเกินไปสำหรับตัวฉัน...
ฉันไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงความคิดความเชื่อของใครๆ
เพราะฉันเข้าใจว่าคนแต่ละคนมีที่มาที่แตกต่าง...
ฉันจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ให้ยอมรับในความแตกต่างนั้นและคอยเฝ้ามองโลกที่เปลี่ยนแปลงไป...


     คงได้ทราบกลุ่มดาวบนท้องฟ้ามาบ้างแล้วจากหัวข้อที่ผ่านมา ต่อไปก็จะเป็นการทำความรู้จักกับกลุ่มดาวอื่นๆต่อไป

๓. ดาวหมีใหญ่

     ประกอบด้วยดาวสว่าง 7 ดวง ปรากฏขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนหัวค่ำในฤดูร้อนคนไทยจินตนาการเป็นจระเข้ บางชาติมองเป็นกระบวยตักน้ำ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลกำหนดให้มีชื่อว่า กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) โดยผนวกดาวฤกษ์ริบหรี่ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน
Ursa Major
รูปที่ ๑ กลุ่มดาวจระเข้หรือหมีใหญ่(Ursa Major)

๓.๑ การหากลุ่มดาวเด่นในกลุ่มดาวอื่นจากกลุ่มดาวหมีใหญ่

      ปรากฏเห็นชัดเจนบนท้องฟ้าในช่วงฤดูร้อนมีดาวสว่างหลัก 7 ดวง คนไทยเรียกดาวจระเข้ ภาคเหนือและอีสานเรียกดาวช้าง

         ก.การหาดาวอาร์กทูรุส (Arcturus) และดาวสไปกา (Spica)

             ลากเส้นสมมติจากดาวหมายเลขหนึ่ง (ดาวสว่างตรงหางหมีหรือหางจระเข้, Alkaid) ลากโค้งไปทางใต้จะพบกับดาวสีส้ม สว่างลำดับที่ 4 บนท้องฟ้า หมายเลขสอง ชื่อดาวอาร์กทูรุส(Arcturus)เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (อาร์กทูรุสแปลว่าคนเลี้ยงหมี) คนไทยเรียกดาวยอดมหาจุลามนีหรือดาวดวงแก้ว จากดาวอาร์กทูรุสลากโค้งไปทางใต้ด้วยระยะพอๆกันจะพบกับดาวหมายเลขสาม เป็นดาวสีน้ำเงินชื่อดาวสไปกา(Spica) คนไทยเรียกดาวรวงข้าว เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจรรย์(Virgo)

ดาวรวงข้าวและดาวยอดมหาจุลามนี
รูปที่ ๒ การหาดาวอาร์กทูรุส (Arcturus) และดาวสไปกา (Spica
ในกลุ่มดาวหญิงสาวพรหมจรรย์(Virgo)                   

            ข. การหาดาวเรกิวลุส (Regulus

                                ลากเส้นสมมติจากดาวหมายเลขหนึ่ง(Megrez) ผ่านดาวหมายเลขสอง(Phad) ดาวสว่างตรงขาคู่หลังของจระเข้ เส้นตรงนี้จะชี้ไปยังดาวหมายเลขสาม(Regulus)หรือดาวหัวใจสิงห์ ดาวสีน้ำเงินอ่อน สว่างที่สุดในกลุ่มดาวสิงโต

Regulus, Leo
รูปที่ ๓
การหาดาวเรกิวลุส (Regulus) ในกลุ่มดาวสิงห์โต(Leo)
 
       

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ตอนที่ ๑ รื่นรมชมดาว(๓)

ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าข้าพเจ้าเลือกเกิดได้หรือเปล่า
แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่าข้าพเจ้าเลือกที่จะเป็นได้
เป็นอย่างที่ข้าพเจ้าเป็น...
ก็เหมือนกับที่ท่านเลือกเป็นอย่างที่ท่านเป็น... 

      
     เรามาเริ่มหาดาวดวงต่อไปโดยอาศัยกลุ่มดาวนายพรานกันหลังจากที่เราสามารถหากลุ่มดาวและดวงดาวจากกลุ่มดาวนายพรานมาบ้างแล้ว มาเริ่มกันเลย...
    
     ค. การหาดาวคาเปลลาในกลุ่มดาวสารถี
        การหาดาวดวนี้ทำได้โดย... การลากเส้นสมมติจากดาวหมายเลขหนึ่ง(Saiph) ไปยังดาวหมายเลขสอง(Alnitak)เล็งผ่านดาวตรงหัวนายพราน ลากต่อไปเส้นตรงจะชี้ไปยังดาวสว่างสีเหลืองเรียกว่าดาวคาเปลลา(3; Capella) เป็นดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวสารถี(Auriga) แต่มีสิ่งที่ต้องระวังนิดหนึ่งก็คือ...รายะทางของเส้นที่ลากสังเกตให้ดีๆยาวเท่าไหร่?


ดาวคาเปลลา กลุ่มดาวสารถี
รูปที่๑ การหาดาวคาเปลลาในกลุ่มดาวสารถี
     ง. การหาดาวคาสเตอร์และพอลลักซ์ในกลุ่มดาวคนคู่
               เราพบดาวหลายดวงแลัวโอตื่นเต้นไหมละ...มาไปดูดวงต่อไปเลย ดาวคาสเตอร์และพอลลักซ์ไงให้เราลากเส้นสมมติจากดาวหมายเลขหนึ่ง(Mintaka) ไปยังดาวหมายเลขสอง(Betelgeuse) ลากตรงไปเส้นตรงจะผ่านระหว่างดาวสองดวงคือดาวคาสเตอร์(3; Castor) และดาวพอลลักซ์(4; Pollux) ดาวที่สว่างในกลุ่มดาวคนคู่...กลุ่มดาวในจำนวนของดาวจักรราศี...แล้วเราจะแน่ใจได้ยังไงละว่าดาวดวงไหนเป็นดาวคาสเตอร์และดาวดวงไหนเป็นดาวพอลลักซ์ สังเกตไม่ยากครับ ดาวพอลลักซ์จะสว่างกว่านิดหนึ่ง มองเห็นความแตกต่างได้...

ดาวคาสเตอร์ กลุ่มดาวคนคู่
รูปที่๒ การหาดาวคาสเตอร์และพอลลักซ์ในกลุ่มดาวคนคู่

     จ. สามเหลี่ยมฤดูหนาว
          พอถึงฤดูหนาวที่ไรท้องฟ้าก็เต็มไปด้วยดาวงดงามจริงๆ หาอะไรสนุกทำดีกว่า... ไหนๆก็หน้าหนาวแล้วเรามาหาสามเหลี่ยมฤดูหนาวกัน...ให้เราลองลากเส้นสมมติจากดาวหมายเลขหนึ่ง (Betelgeuse) ในกลุ่มดาวนายพราน ไปยังดาวหมายเลขสอง (Sirius; ดาวที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า) ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ จากดาวหมายเลขสองลากไปยังดาวหมายเลขสาม (Procyon) ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก จากดาวหมายเลขสามลากไปบรรจบที่ดาวหมายเลขหนึ่งจะได้สามเหลี่ยมปิดที่เรียกว่า สามเหลี่ยมฤดูหนาว เห็นชัดเจนตลอดคืนในฤดูหนาว...เราถึงเรียกว่าสามเหลี่ยมฤดูหนาวไง

สามเหลี่ยมฤดูหนาว
รูปที่๓ สามเหลี่ยมฤดูหนาว




วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ตอนที่ ๑ รื่นรมชมดาว(๒)

ทรัพยากรในโลกมีเพียงพอสำหรับมนุษย์ทุกคน
กลับมีไม่เพียงพอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว
...ฉันจะไม่เป็นดั่งคนโลภ...


        หลังจากได้ทราบวิธีการหาดาวเหนือเรียบร้อยแล้ว จะทำให้เราสามารถหาทิศได้เวลาเราเดินทางไปยังสถานที่ที่เราไม่คุ้นเคย ทั้งยังเป็นความท้าทายไปอีกแบบ ต่อไปเราจะมาทำความรู้จักและเรียนรู้วิธีการหากลุ่มดาวอื่นๆบนท้องฟ้ากัน...

๒. กลุ่มดาวนายพราน
     กลุ่มดาวนายพรานมีดาวสว่างที่เห็นเด่นชัด ๓ ดวงตรงเข็มขัดนายพรานคนไทยเรียกดาวไถ ด้านบนและด้านล่างเข็มขัดนายพราน ๔ ดวง (บนสองล่างสอง) คนไทยเรียกดาวเต่า ดาวดวงนี้สังเกตได้ไม่ยากลองสังเกตดู...  

ดาวบีเทลจูส
รูปที่ ๑ กลุ่มดาวนายพราน (Orion)

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

รื่นรมชมดาว ตอนที่ ๑ รื่นรมชมดาวเหนือ

คนเขลาสามารถมองเห็นข้อบกพร่องของคนอื่นได้มากมาย
กลับไม่สามารถมองเห็นข้อบกพร่องของตนเองแม้เพียงน้อย
...บางครั้งฉันก็เป็นดั่งคนเขลา...


    พระอาทิตย์สีสมดวงกลมโตกำลังลับขอบฟ้า เหล่าวิหกโผบินกลับรัง ความมืดมิดเข้าปกคลุมพื้นดินอันกว้างใหญ่ สายลมหนาวโชยพัดความหนาวเหน็บปกคลุมไปทั่วบริเวณ ท่ามกลางความมืดมิด อากาศที่หนาวเหน็บ ยังมีความรื่นรมให้เราได้เชยชม มองดูที่ท้องฟ้านั่นสิดวงดาวส่องแสงระยับเต็มท้องฟ้าไปหมด ช่างเป็นภาพที่งดงามจริงๆ เรามานั่งดูดาวกันเถอะ...แรกเริ่มเราจะดูดาวดวงไหนดีละ ดาวเหนือดีไหม...

ตอนที่ ๑. รื่นรมชมดาวเหนือ
     งั้นเรามาดูดาวเหนือกัน ดาวเหนือ (Polaris) จะเป็นดาวสว่างอยู่ตรงหางของกลุ่มดาวหมีเล็ก (Ursa Minor) ถ้าหากเราหาดาวเหนือเจอเราก็สามารถบอกทิศได้ ก็ทิศเหนือไง ชึ่งจะมีประโยชน์ในกรณีที่เราไม่ทราบทิศ (หลงทิศหลงทางตอนกลางคืน) โดยดาวเหนือจะอยู่สูงจากเส้นขอบฟ้าเป็นมุมเงยเท่ากับละติจูดของผู้สังเกต เช่น ผู้สังเกตอยู่ที่ละติจูด ๑๕ องศาเหนือ ดาวเหนือก็จะอยู่สูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ ๑๕ องศา นั้นเอง เป็นไงพอจะหาดาวเหนือเจอไหม... ถ้ายังหาไม่เจอเรามีตัวช่วยเราจะหาดาวเหนือจากดาวเด่นดวงอื่นกันลองมาดูกันเลย...

ดาวเหนือ
รูปที่ ๑ ดาวเหนือและความสูงจากเส้นขอบฟ้าของผู้สังเกตที่อยู่ละติจูด ๑๕ องศาเหนือ